วันที่ 22 สิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 2 ได้นำตัวนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เดินทางกลับประเทศไทยในรอบ 17 ปี มาส่งที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งนายทักษิณเป็นบุคคลตามหมายจับในคดีสำคัญ 3 คดี ผลการพิพากษา คือ จำคุกนายทักษิณ 8 ปี และนำตัวเข้าเรือนจำทันที
สำหรับขั้นตอนการทำเรื่องอภัยโทษผู้ต้องขังสามารถยื่นเรื่องได้ทันทีภายหลังเข้าเรือนจำ ซึ่งการอภัยโทษมี 2 แบบ คือ
1. การพระราชทานอภัยโทษแบบทั่วไป ต้องรอให้มีโอกาสสำคัญหรือโอกาสพิเศษ จากนั้นจะมีการตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่งเรื่องให้ รมว.ยุติธรรม ขอความเห็นชอบจาก ครม. และให้นายกรัฐมนตรี นำเรื่องกราบทูลฯ ต่อไป เงื่อนไขของคนที่จะใช้ข้อนี้ ต้องรับโทษมาแล้ว 1 ใน 3 ของคำพิพากษา ซึ่งคนที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษในข้อนี้จึงมีหลายคน2. การพระราชทานอภัยโทษแบบเฉพาะราย หรือคณะบุคคล ซึ่งคนในครอบครัวหรือผู้ต้องหาจะต้องเป็นคนยื่นเรื่องผ่านกรมราชทัณฑ์ จากนั้น รมว.ยุติธรรม จะเสนอนายกรัฐมนตรี เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาต่อไป
อย่างไรก็ตามหาก นายทักษิณจะเข้าเงื่อนไขข้อแรก จำเป็นต้องโทษตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป เพื่อให้เข้าเกณฑ์ 1 ใน 3 ของคำพิพากษา ขณะที่ข้อสอง อาจจะเป็นตัวเลือกที่รวดเร็วกว่า แต่ถ้าอภัยโทษไม่ผ่าน จะต้องรออีก 2 ปี ถึงจะยื่นขอใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม รมว.ยุติธรรม กับ นายกรัฐมนตรี เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินอภัยโทษ
ข้อมูลจาก รายการ ซัดทุกความจริง ช่องวัน 31